วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ฟอร์มาลิน  หรือ  สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์       หมายถึงสารละลายที่ประกอบด้วยแก๊ส ฟอร์มาลดีไฮด์ประมาณร้อยละ 37-40 (ในน้ำ) มีเมทานอลปนอยู่ประมาณร้อยละ 10-15 เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอร์มาลินเปลี่ยนรูปไปเป็นโพลิเมอร์พาราฟอร์มาดีไฮด์ซึ่ง เป็นพิษมากกว่าฟอร์มาลินมาก ฟอร์มาลินเป็นสารที่ใช้สำหรับดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องคนป่วย ดังนั้นพ่อค้า แม่ค้าจึงนิยมนำฟอร์มาลินมาแช่ผัก เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลสด ทำให้อาหารต่างๆ สดอยู่ได้นาน โดยไม่เน่าเสียเร็ว แต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นฟอร์มาลินหรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหารตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข หากใครใส่สารนี้ในอาหาร จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลินเป็นสารละลายใส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว เป็นสารรีดิวซ์รุนแรง เมื่อสัมผัสกับอากาศจะถูกออกซิไดส์ช้า ๆ ไปเป็นกรดฟอร์มิกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน มีค่า pH ประมาณ 2.8-4.0    สามารถรวมตัวได้กับน้ำ    แอลกอฮอล์    แต่ฟอร์มาลินไม่สามารถใช้ร่วมกับสารดังต่อไปนี้ คือ ด่างทับทิม ไอโอดีน และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ถ้าเป็นฟอร์มาลินที่เก็บไว้นานหรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ ( 4.4 องศาเซลเซียส ) ฟอร์มาลินจะเปลี่ยนรูปไปเป็น พาราฟอร์มาดีไฮด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นตะกอนสีขาวจึงไม่ควรนำไปใช้ เพราะจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
ฟอร์มาลินเป็นสารที่ใช้สำหรับดองศพเพื่อไม่ให้ศพเน่าเปื่อย ใช้ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดห้องคนป่วย ดังนั้นพ่อค้า แม่ค้าจึงนิยมนำฟอร์มาลินมาแช่ผัก เนื้อสัตว์ และอาหารทะเลสด ทำให้อาหารต่างๆ สดอยู่ได้นาน โดยไม่เน่าเสียเร็ว แต่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้และฟอร์มาลินยังเป็นสารที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และสิ่งทอ ดังนั้นจึงสามารถพบฟอร์มาดีไฮด์ซึ่งเป็นไอระเหยที่เป็นพิษได้จากวัสดุ สังเคราะห์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น กาว (วิทยาศาสตร์) ฝ้าเพดานสำเร็จรูป ผ้าใยสังเคราะห์ เตาแก๊สหุงต้ม สีทาบ้าน น้ำยาเคลือบเงาไม้ วัสดุบุผิว เฟอร์นิเจอร์ พาร์ติเคิลบอร์ด พรมสังเคราะห์ กระดาษทิชชู  น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น ซึ่งไอระเหยฟอร์มาดีไฮด์นั้นจัดเป็นสารพิษในอากาศ ทำให้เกิดมลพิษในอากาศและถ้าพบฟอร์มาดีไฮด์ในปริมาณมากก็อาจเป็นอันตรายกับ ผู้ที่ได้รับได้
วิธีการตรวจสอบว่าอาหารมีฟอร์มาลินปนเปื้อนอยู่หรือไม่
อาจใช้วิธีสังเกตง่ายๆ ได้ดังนี้ ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ให้สังเกตว่า หากถูกแสงแดด หรือลมเป็นเวลานาน แล้วยังสดอยู่ก็ไม่ควรซื้อ ถ้าเป็นผัก ผลไม้ที่มีลักษณะแข็ง เขียว กรอบหรือสดผิดปกติ และถ้าเป็นปลา หรือกุ้งเนื้อแข็งแต่บางส่วน เปื่อยยุ่ย ไม่ควรซื้อมาประกอบอาหารเนื่องจากอาจจะได้รับอันตรายจากฟอร์มาลินที่ปน เปื้อนมาได้ ส่วนผักหรือผลไม้ ให้ดมที่ใบ หรือหักก้านดม หรือดมที่ผล ว่ามีกลิ่นแสบจมูกหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่ามีฟอร์มาลินปนเปื้อน

             สำหรับการเลือกอาหารให้ปลอดภัยจากอันตรายของฟอร์มาลิน ควรเลือกซื้อดังนี้ ถ้าเป็นเนื้อที่ไม่แช่ฟอร์มาลิน หากถูกแสงแดด หรือลม เป็นเวลานานๆ เนื้อจะมีลักษณะแห้ง และไม่เต่งตึงอยู่เหมือนเดิม ควรเลือกซื้อผักอนามัย หรือผักกางมุ้ง เลือกผักที่ไม่มีลักษณะแข็ง หรือกรอบจนเกินไป การเลือกอาหารทะเลควรเลือกอาหารที่สด เนื้อไม่เปื่อยยุ่ย สีไม่ผิดปกติ และอาหารทะเลต้องวางจำหน่ายในน้ำแข็งตลอดเวลา ที่สำคัญต้องล้างอาหารให้สะอาดก่อนการปรุงเสมอ

             ฟอร์มาลินเป็นสารอันตรายหากใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงจะมีประโยชน์ต่อเราและสังคมอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น